โครงสร้างหลักสูตร

หลักสูตร : 655100603 ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการพัฒนาวิชาชีพ แผน ข

ระดับการศึกษา : ปริญญาโท

สำนักวิชา : ศิลปศาสตร์

สาขาวิชา : ภาษาอังกฤษเพื่อการพัฒนาวิชาชีพ

ปีอ้างอิงหลักสูตร : 2565

ปรัชญาหลักสูตร : หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการพัฒนาวิชาชีพ ได้รับการพัฒนาขึ้น บนพื้นฐานแนวคิดจัดการเรียนการสอนตามแนวทฤษฎีพุทธินิยม (Cognitivism) เน้นกระบวนการทางปัญญา เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นโดยที่ผู้เรียนเป็นผู้เรียนค้นพบด้วยตนเอง และมีการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ที่เหมาะสมให้กับผู้เรียน รวมถึงแนวคิดการจัดการเรียนรู้แบบ Inquiry-based education (การเรียนรู้แบบสืบเสาะ) ที่เน้นให้ผู้เรียนแสวงหาความรู้จากการตั้งคำถามและแก้ไขปัญหา โดยการนำเอาประสบการณ์ หรือสิ่งที่พบเห็นมาเชื่อมโยงกับความรู้ความเข้าใจที่มีอยู่เดิม เพื่อสร้างเป็นความเข้าใจของตนเอง อันเป็นรากฐาน สำคัญในการเรียนรู้ แนวคิดการจัดการเรียนรู้ดังกล่าวสอดคล้องกับแนวทางการจัด การศึกษาแบบมุ่งเน้นผลลัพธ์ (Outcome-based Education) ซึ่งเป็นแนวคิดหลักของการปรับปรุงหลักสูตรฉบับนี้ ที่มุ่งเน้นผู้เรียนเป็น ศูนย์กลางการเรียนรู้ และการเรียนการสอนที่เน้นผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน แนวคิดการจัดการเรียนรู้ดังกล่าว ช่วยพัฒนากำลังคนขั้นสูงที่มีความรู้ความสามารถเฉพาะทางอีกด้วย การเติบโตของเทคโนโลยีดิจิทัลที่เกิดขึ้น อย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ภาคธุรกิจ ภาคอุตสาหกรรมเกิดการปรับเปลี่ยนเพื่อให้ทันการเปลี่ยนแปลง รวมถึงภาคการศึกษาเกิดการปรับเปลี่ยนรูปแบบการเรียนรู้ การปรับเปลี่ยนกระบวนการเรียนรู้ให้เป็นนวัตกรรม การสร้างสรรค์ให้ผู้เรียนคิดและทำได้ด้วยตนเอง มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีพลิกผัน ด้วยเหตุนี้หลักสูตรจึงมุ่ง ตอบสนองการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว เพื่อให้สอดคล้องกับกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2558 หลักสูตรมุ่งเน้นการผลิตบัณฑิตให้ก้าวทันการเปลี่ยนแปลง มีความรู้เกี่ยวกับศาสตร์ทางภาษา ภาษาอังกฤษเชิงวิชาการ ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม รวมถึงเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับภาษา เพื่อการพัฒนาวิชาชีพ ทั้งในส่วนที่เป็นวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับการสอนภาษาอังกฤษ หรือใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อ กลางในการสอน รวมถึงวิชาชีพอื่นที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารเชิงวิชาการ การสื่อสารอาชีพอย่างมีประสิทธิภาพ

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร :
  1. ผลิตบัณฑิตที่มีความสามารถในการใช้ทักษะภาษาอังกฤษเชิงวิชาการ รวมถึงทักษะการสื่อสารภาษา อังกฤษระหว่างวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนาวิชาชีพ
  2. พัฒนาความก้าวหน้าทางวิชาชีพของบัณฑิตโดยบูรณาการองค์ความรู้ในศาสตร์ต่างๆ เพื่อการค้นคว้า วิเคราะห์ วิจัย และใช้เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับภาษาได้อย่างสร้างสรรค์
  3. ส่งเสริมบัณฑิตให้เป็นผู้แสวงหาความรู้ มีความคิดริเริ่มและมีคุณธรรมจริยธรรม

ไม่พบข้อมูลที่ต้องการค้นหา